วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3มิติ)


Google SketchUp
Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ) : โปรแกรม SketchUp เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google โปรแกรมออกแบบบ้านหรือเอาไว้ สร้างโมเดล 3 มิติ ออกมาภายใต้ชื่อ Google SketchUp ออกมาให้คนอยากออกแบบ อยากเล่น อยากลอง อยากฝึกใช้ได้ทดลองใช้

โปรแกรมออกแบบบ้าน ชั่วหัวว่าใช้ออกแบบบ้าน แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ โปรแกรมออกแบบบ้าน อย่างเดียวแต่ โปรแกรม Google SketchUp ยังสามารถ ออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือ เครื่องจักร เครื่องกล กันได้อย่างง่ายๆ แถมเผลอๆ หาก ออกแบบ กันดีๆ ยังเอาไปใช้งานจิงๆ ได้อีกด้วย รวมถึง โปรแกรม SketchUp นี้ยังสามารถนำไป ออกแบบ วัตถุเล็กๆ น้อยๆ อาทเช่น ทั้ง ออกแบบระเบียงบ้าน ออกแบบหน้าต่าง ออกแบบประตู ออกแบบตู้ ออกแบบโต๊ะ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ งานไม้ งานต่อเติมบ้าน ออกแบบรถ (เหมือนภาพประกอบด้านบน) หรือแม้แต่ ออกแบบยานอวกาศ ในฝัน ยังออกแบบได้ เอากับเค้าสิ จะเป็นยังไงบ้างลองกันเลยครับ

นอกจากนี้แล้ว Google SketchUp หรือ โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ ตัวนี้ ยังสามารถส่งออกผลงาน (Export) ที่ออกแบบเสร็จ (วาดเสร็จ) มาในรูปแบบของไฟล์ .BMP, .PNG, .JPG, .TIF สำหรับเวอร์ชั่นฟรี และ ส่งออกเป็นไฟล์ .pdf, .eps, .epx, .dwg, and .dxf. สำหรับเวอร์ชั่นโปร

ที่มา : http://software.thaiware.com/10038-Google-SketchUp.html

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ(2มิติ)


Synfig Studio 


(โปรแกรม Synfig Studio ออกแบบแอนิเมชั่น 2 มิติ) : สำหรับโปรแกรมนี้มีชื่อว่า โปรแกรม Synfig Studio มันเป็นโปรแกรมที่เอาไว้ออกแบบ หรือ สร้างแอนิเมชั่น แบบ 2 มิติ (2D Animation Software) เอาไว้ใช้ในการสร้างแอนิเมชั่นภาพเคลื่อนไหวการ์ตูน ต่างๆ โดยผ่านการออกแบบด้วยเส้นเวกเตอร์ และกราฟฟิกแบบบิตแมป (Bitmap) โดยคุณสามารถสร้างการเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูนด้วยภาพนิ่งกันแบบเฟรมต่อเฟรม ช็อตต่อช็อต ให้คุณได้เนรมิตสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นแบบ 2 มิติ ได้ขึ้นมาง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง โดยโปรแกรม Synfig Studio ตัวนี้ถือว่ากินทรัพยากรเครื่องต่ำมากๆ ใช้งานง่าย เรียนรู้เร็วอีกต่างหาก เหมาะกับการใช้ทำการเรียนการสอน โดยอาจารย์ ครู เอาไว้ใช้สอนนักเรียนนิสิตนักศึกษา ได้เป็นอย่างดี


โดยการใช้งานนั้นลักษณะมันจะเป็นควบคุมด้วยระบบเส้นเวลา หรือ ไทม์ไลน์ (Timeline) คล้ายๆ กับ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ โดยทั่วๆ ไปว่าในแต่ละช็อต แต่ละวินาที ที่ผ่านไปนั้นการเคลื่อนไหวของตัวละครในการ์ตูนของคุณเป็นอย่างไรบ้าง โดยมีแถบเครื่องมือที่คล้ายกับ โปรแกรมวาดรูป มาให้เล่นกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ สามารถเปลี่ยนสี ใส่กรอบ ลากเส้น เติมรูปทรงต่างๆ เข้าไปในเฟรมได้มากมาย กำหนดระดับความช้าเร็วได้ตามใจชอบ ใส่ฟิลเตอร์ เอฟเฟคลูกเล่นต่างๆ ได้เพียบ ด้านการทำงานในการออกแบบ แบ่งลำดับเป็นเลเยอร์ (Layer-Based) เพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไขในภายหลัง เหมือนโปรแกรมมืออาชีพเลยทีเดียว เรียกได้ว่าความสามารถของ โปรแกรม Synfig Studio ตัวนี้พกมาแบบจัดเต็มมากๆ ลอง ดาวน์โหลดโปรแกรม ตัวนี้ไปใช้กันดูได้เลย


ที่มา : http://www.thaifreewaredownload.com/2012/02/synfig-studio.html

เทคโนโลยีสะอาด

1.ความหมายของเทคโนโลยีสะอาด(Clean Technology)หรือ CT
หมายถึงกระบวนการหรือวิธีการที่นำมาใช้พัฒนา เปลี่ยนแปลง
ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ วิธีการ  กระบวนการหรือบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อ
ให้เกิดผลกระทบหรือความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า  4R ได้แก่  Reuse  Repair  Reduce
และ Recycle
      เทคโนโลยีสะอาดเป็นเทคโนโลยีที่ยั่งยืนอย่างหนึ่งเพราะสามารถ
ใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบันได้ตลอดชีวิต โดย
คำนึงถึงผลกระทบต่เศรษฐกิจ  สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
2.  4R
      2.1  Reuse ใช้แล้วใช้อีกเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการบริโภค
เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ลดการปล่อยมลพิษสู่
สภาพแวดล้อมไม่มีการเเปลี่ยนแปลงรูปทรงเช่น  ถุงผ้า ถุงกระดาษ
ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว ขวดแก้ว ลังกระดาษ  กล่องพลาสติก ยางรัดของ
ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้วใช้อีก เป้นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายโดยเมื่อ
ขวดน้ำพลาสติกสัมผัสกับความเย็นจัดร้อนจัดขบกัดขูดขีด กระแทก
จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งหากดื่มน้ำจากขวดที่ใช้แล้วจะได้รับสารก่อมะเร็ง
2.2Repair หรือซ่อมแซมใช้ซ่ำเป็นการนำสิ่งของเครื่องใช้เก่าๆและ
ของมีตำหนิที่ยังมีค่ามาซ่อมแซมดัดแปลง เช่นเสื้อแขนยาวที่มีรอยขาด
ที่แขนนำมาดัดแปลงใช้เป็นเสื้อแขนสั้น ยางรถยนต์เก่านำมาเป็นภาชนะ
ปลูกพืชผักสวนครัว
2.3Reduce หรือ ลดการใช้ให้น้อยลง โดยลดการใช้ทรัพยากรที่มี
อยู่อย่างจำกัด ทรัพยากรที่หมดไปและทรัพยากรทดแทน เช่น พลังงาน
ปิโตรเลี่ยม  ถ่านหิน แร่ธาตุ
      ควรใช้อินเทอร์เนต  โทรศัพท์  โทรสาร  ในการทำงานแทนการ
เดินทางไปพบปะผู้ที่ต้องการติดต่อธุระด้วยตนเอง เพื่อประหยัดเวลา
2.4Recycle  หรือหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ คือการนำผลิตภัณฑ์
ประเภท กระดาษ  แก้ว พลาสติก  โลหะ ที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับ
มาใช้ใหม่เพื่อลดปริมารของเสียโดยผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าใหม่
4 ขั้นตอน ได้แก่  การรวบรวม  การแยกวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน
การผลิตหรือปรับปรุงด้วยวิธีหลอมละลาย  บด  อัดและการนำมาใช้ประโยขน์
โดยในขั้นตอนการผลิตนั้น วัสดุประเภทแก้ว  พลาสติก  โลหะ จะผ่านกรรมวิธี
ที่แตกต่างกัน
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสะอาด
1.ประโยชน์ต่อมนุษย์  เช่นมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากสารพิษเพราะ
มีการปล่อยสารพิษสู่ธรรมชาติน้อยและมีสารพิษตกค้างที่ผลิตภัณฑ์น้อย
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากขยะ
2.ประโยชน์ต่อชุมขนและสังคม มีความสามัคคีระหว่างบ้าน ชุมชน โรงงาน
เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากมลพิษและร่วมกันแก้ไขปัญหา
3.ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่นแม่น้ำลำคลองสะอาด อากาศไม่มีกลิ่นเหม็น
4.ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม   5.ประโยชน์ต่อภาครัฐ
นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม เป็นอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการตรวจสภาพ
ของสิ่งแวดล้อมแล้วรายงานต่อผู้บังคับบัญชารายงานผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมของโครงการต่างๆ สถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม
การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี
กระบวนการเทคโนโลยีประกอบด้วยขั้นตอน  7  ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ เช่น ต้องการทำ
ตู้จดหมายที่มีเสียงเพลงแบบประหยัดค่าใช้จ่ายและสวยงาม
ติดตั้งไว้ที่ประตูหน้าบ้าน ต้อวกำหนดว่ามีวิธีใดบ้างที่จะทำ ใช้วัสดุใด
ใช้เงินทุนเท่าไหร่  เวลาทำมากน้อยแค่ไหน
ขั้นตอนที่ 2การรวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีแก้ปัญหาหรือ
สนองความต้องการ อ่านหนังสือ  ค้นหาในอินเทอร์เนต สอบถาม
ขั้นตอนที่ 3การเลือกวิธีการ การทำตู้จดหมายมี  2 แนวทางคือ
3.1ใช้ตู้จดหมายวงจรเสียงเพลงและอุปกรณ์สำเร็จรูปทั้งหมด
3.2ประกอบตู้จดหมายเสียงเพลงด้วยตนเองทั้งหมด
        เมื่อพิจารณาความต้องการแล้วคือต้องการตู้เสียงเพลงแบบประหยัด
และสวยงามจึงเลือกแบบที่ 2
ขั้นที่ตอนที่ 4การออกแบบและปฏิบัติการ  เริ่มจากวาดภาพร่าง 2 มิติ 3 มิติ
ตู้จดหมายและวงจรเสียงเพลงลงกระดาษแล้วใช้โปรแกมคอมพิวเตอร์
สร้างแบบจำลองจากนั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือและประกอบตามที่
ออกแบบไว้ตกแต่งให้สวยงาม
ขั้นตอนที่ 5การทดสอบ  ทดสอบติดตั้งใช้ตู้จดหมายมีเสียงเพลง
พบปัญหาคือสายซิลด์ที่ต่อจากตู้จดหมายไปยังลำโพงในบ้านสั้นไป
จึงต้องใช้สายใหม่ให้ยาวขึ้นกว่าเดิม
ขั้นตอนที่ 6การปรับปรุงแก้ไข  ต่อสายใหม่ให้ยาวกว่าเดิม
ขั้นตอนที่ 7การประเมินผล  เมื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วให้ประเมินผล
โดยรวมว่าสามารถแก้ปัญหาที่ต้องการตั้งแต่เริ่มแรกหรือไม่น่าจะใช้
วิธีอื่นในการแก้ปัญหาหรือไม่หรือตกแต่งตู้จดหมายให้สวยงามอย่างไร
และเดินสายซิลล์เข้าในบ้านให้เรียบร้อยได้อย่างไร
การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์มีหลักดังนี้
1.ประโยชน์ใช้สอย          2.ความคงทน
3.ความสวยงาม     4.ราคา           5.ความปลอดภัย


ที่มา : http://www.environnet.in.th/2014/?p=8145

5W1H


5W1 หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอเป็นกรอบ 5W1H
วิธีนี้จะใช้ในช่วงของกระบวนการนักวิเคราะห์วิศวกรที่มีคุณภาพที่จะเข้าใจและอธิบายความจริงปัญหาใด ๆ หรือปัญหาวิธีการเดียวกันสามารถที่ใช้ในการจัดระเบียบการเขียนของรายงานบทความเอกสารและแม้ทั้งหนังสือ
วิธีการพื้นฐาน

วิธีการนี้พยายามที่จะตอบคำถามพื้นฐานในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของ: ใครอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนทำไมและวิธีการ บางครั้งขึ้นอยู่กับบริบทที่สอง"H"อย่างไร

What.
คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร

Who.
สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน

When.
หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข
Where.
เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่
Why.
เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน
How.
เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรือขั้นตอนอาจ
เป็นส่วนสำคัญที่สุด
Conclusion.
5W1H สามารถนำไปใช้หัวข้อใด ๆ เพื่อรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย
ที่มา : http://www.thaidisplay.com/content-39.html

ตัวอย่างการออกแบบ

Identity คือ อัตลักษณ์ ขององค์กร หรืออัตลักษณ์ของตราสินค้าต่างๆ เป็นภาพลักษณ์ ความคิดและรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคได้รับจากตราสินค้า เอกลักษณ์ คือ จุดแข็งที่เสนอคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียว เป็นก้าวแรกขององค์กรที่จะนำพาองค์กร สู่ความสำเร็จ ถามว่าไม่มีได้ไหม? คำตอบคือได้ แต่ท่านลองสังเกตดูว่า เมื่อเราพูดถึง อัตลักษณ์ ขององค์กรต่างๆ เช่น การบินไทย ธนาคารกสิกร ธนาคาไทยพานิชย์ ท่านก็จะนึกออกทันทีว่า สิ่งที่กล่าวมานั้น เป็นบริการอะไร ตราสัญลักษณ์เป็นแบบไหน โทนสีอะไร ภาพเหล่านั้น ก็จะแว้บขึ้นมาทันที เหล่านั้น คือ อัตลักษณ์ขององค์กรที่ทำให้ลูกค้า จดจำและ สร้างความโดดเด่นในแง่ของการแข่งขัน

โครงสร้างเอกลักษณ์(Identity Structure) ประกอบด้วย
แก่นของเอกลักษณ์ (Core Identity) แสดงถึงความเป็นแก่นของตราสินค้า  โดยแก่นของเอกลักษณ์จะประกอบไปด้วยส่วนที่ทำให้ตราสินค้าเป็นเอกลักษณ์ และมีคุณค่า เช่น เครื่องดื่มเป๊ปซี่ เต็มที่กับชีวิต
ส่วนขยายเอกลักษณ์ (Extended Identity) เป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมให้องค์กรมีลักษณะรูปแบบที่เฉพาะตัวและมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นการสร้างจิตวิญญาณให้กับองค์กร บ่งบอกถึงความเป็นองค์กรที่เป็นการสะท้อนให้เห็นภาพที่เป็นจุดยืนขององค์กร  เช่น สโลแกน สัญลักษณ์ หรือรวมไปถึงตัวผลิตภัณฑ์
สร้างเอกลักษณ์ได้อย่างไร
โดยทั่วไปแล้วตราสินค้าที่แข็งแกร่งจะต้องแสดงให้เห็นถ้อยคำเฉพาะ คำขวัญ สีสัน และสัญลักษณ์หนึ่ง ตลอดจนเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่ง
คำเฉพาะ ชื่อตราสินค้าที่แข็งแกร่ง เมื่อเอ่ยกับคนที่อยู่ในตลาดเป้าหมาย ควรกระตุ้นให้นึกถึงคำอื่นๆ และต้องเป็นคำที่ชื่นชอบ เช่น การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
คำขวัญ มีบริษัทหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จกับเพิ่มคำขวัญ หรือข้อความห้อยท้ายชื่อบริษัทหรือตราสินค้าของตน โดยจะได้รับการกล่าวถึงซ้ำๆ ในโฆษณาทุกชิ้น หรือ ปรากฏตามสื่อทุกสื่อที่กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสพบเห็น ผลของการใช้คำขวัญเดียวกันครั้งแล้วครั้งเล่า สร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าของคนโดยไม่รู้ตัว เช่น การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า รีเจนซี่ บรั่นดีไทย เป็นต้น
สีสัน การใช้สีสันที่เหมาะสมมีส่วนช่วยในการจดจำตราสินค้ามากทีเดียว เช่น ธนาคากสิกรใช้สีเขียว ธนาคาไทยพานิชย์ ใช้สีม่วง ธนาคารกรุงศรีอยุทธยาใช้สีเหลือง เป็นต้น
สัญลักษณ์และโลโก้ การใช้สัญลักษณ์หรือโลโก้ก็เป็นการสื่อสารที่ดีและได้ผลมาอย่างยาวนาน องค์กรต่าง ๆ ได้สร้างตราสัญลักษณ์หรือดีไซน์ที่เป็นนามธรรม ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าจดจำ

ที่มา : http://sanya-indy.com/identity-design/


การออกแบบ

      การออกแบบ (อังกฤษ: design) การวางแผนที่จะสร้าง (เช่นในการเขียนพิมพ์เขียนทางสถาปัตยกรรม, การเขียนแผงวงจร และการเขียนผังปักเย็บ) อย่างไรก็ตามการออกแบบอาจจะกระทำไปพร้อมกับออกแบบได้ (เช่น การปั้นหม้อ, การพัฒนาโปรแกรม และงานกราฟิกดีไซน์)
ผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า นักออกแบบ ซึ่งหมายถึงคนที่ทำงานวิชาชีพในสาขาการออกแบบที่แตกต่างกันไป เช่น นักออกแบบแฟชั่น, นักออกแบบแนวความคิด หรือนักออกแบบเว็บไซต์
การออกแบบนั้นมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาด้าน สุนทรียศาสตร์ ประโยชน์ใช้สอย หลักเศรษฐศาสตร์ และมุมมองสังคมการเมือง ทั้งในสิ่งที่ออกแบบและขั้นตอนการออกแบบ การออกแบบอาจเกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อมูล ความคิด การทำแบบจำลอง การปรับเปลี่ยนให้ทำงานร่วมกันได้ และอาจมีการออกแบบใหม่ ขณะที่ความหลายหลายของการออกแบบอาจรวมไปถึง เสื้อผ้า ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ตึกระฟ้า เอกลักษณ์กลุ่มบริษัท ขั้นตอนการทำธุรกิจ หรือแม้กระทั่งขั้นตอนการออกแบบเอง
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A


กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยีคืออะไร
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายตามเงื่อนไขและปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางครั้งมนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาหรือความต้องการที่จะทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น เราเรียกว่า “สถานการณ์เทคโนโลยี"
การพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นสถานการณ์เทคโนโลยี จะพิจารณาจาก 3 ประเด็นคือ เป็นปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์
การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่พบในสถานการณ์เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากร ความรู้และทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า “กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยีมีกี่ขั้นตอน

กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)
3. เลือกวิธีการ (Selection)
4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
5. ทดสอบ (Testing)
6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
7. ประเมินผล (Assessment)

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว นักเรียนรู้จักที่จะทำงานเป็นขั้นตอน เป็นระบบ ย้อนกลับมาดู หรือแก้ไขได้ตามขั้นตอนที่ทำไปได้
ที่มา : http://designtechnology.ipst.ac.th/index.php/?option=com_content&view=article&id=69&Itemid=108


ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์อื่นๆ

          วิทยาศาสตร์    คือ   วิชาที่ศึกษาถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติ ทั้งในสภาพนิ่งหรือสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง
          เทคโนโลยี       คือ   กระบวนการหรือวิธีการและเครื่องมือที่เกิดจากการประยุกต์ และผสมผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์เหมาะสมกับเวลาและสถานที่
          วิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ โดยตั้งข้อสมมติฐาน พิสูจน์สมมติฐานด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ หรือข้อเท็จจริงจากปรากฎการณ์นั้น ๆ ถ้ามีการพิสูจน อีกก็ยังคงใช้ข้อเท็จจริงเหมือนเดิม
          เทคโนโลยีเป็นวิทยาการที่เกิดจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ในการแก้ปัญหา โดยมุ่งแสวงหากระบวนการหรือวิธีการ (Know How) โดยอาศัยเครื่องมือและความรู้ต่าง ๆ ผลของกระบวนการเทคโนโลยีมี 2 ลักษณะ คือ
                    1. เครื่องมือ หรือฮาร์ดแวร์ หมายถึง เทคโนโลยีในรูปของอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องบำบัดน้ำเสีย เครื่องปรับอากาศ เครื่องบิน เป็นต้น
                    2.วิธีการหรือ เรียนกว่า ซอฟต์แวร์ หมายถึง เทคโนโลยีในรูปของวิธีการ กระบวนการ ความรู้ต่าง ๆ เช่น วิธีจัดการระบบบริหารองค์กร วิธีประเมินผลต่าง ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
          ผู้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ คือ นักวิทยาศาสตร์ ความใฝ่รู้ หรืออยากรู้อยากเห็น ทำให้คนเป็นนักวิทยาศาสตร์ ความใฝ่ประดิษฐ์ทำให้คนเป็นช่างฝีมือ คนที่เรียนเทคโนโลยีจะต้องมีจิตวิญญาณสองส่วน คือ ใฝ่รู้ หรือ ใฝ่ศึกษาธรรมชาติ และใฝ่ทำหรือใฝ่ประดิษฐ์ บุคคลที่มีคุณลักษณะทั้ง 2 ประการ ได้แก่ โธมัส อัลวา เอดิสัน เป็นนักประดิษฐ์ ที่รวมความเป็นนักวิทยาศาสตร์และช่างฝีมือในตัวเอง
          เมื่อประมาณ 4,500 ปี มาแล้ว ชาวอียิปต์โบราณสร้างพีระมิดด้วยเทคโนโลยีบางอย่างสำหรับขนหินแกรนิตขนาดใหญ่ขึ้นไปเรียงกันถึงยอดสูงประมาณ 164 ฟุต เทคโนโลยีเกิดจากการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาเครื่องมือของช่างฝีมือ ทำให้ได้เครื่องจักรกลที่ซับซ้อน
          ประเทศไทยผลิตช่างฝีมือในแต่ละปีจำนวนมาก แต่ขาดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
          สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี ประเทศที่เจริญทางเทคโนโลยีจะทุ่มเททุนมหาศาลเพื่อพัฒนาและประยุกต์วิทยาศาสตร์เข้ากับเทคโนโลยี ขณะนี้ประเทศไทยต้องพึ่งพาหรือซื้อเทคโนโลยีชั้นกลางหรือชั้นสูงจากต่างประเทศ เพราะเราประดิษฐ์เทคโนโลยีเหล่านั้นได้น้อยมาก
          วิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยี ในฐานะที่เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญสำหรับเทคโนโลยีแต่ไม่ใช่เฉพาะวิทยาศาสตร์ วิชาอื่น ๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
          วิทยาศาสตร์แตกต่างจากเทคโนโลยีในเรื่องของเป้าหมาย (goal) และวิธีการ (methodlogies) แต่ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด
          เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา
แต่ขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยความรู้ทางเทคโนโลยีแสวงหาความรู้หรือทฤษฎีใหม่ ๆ เทคโนโลยีจึงไม่ใช่วิทยาศาสตร์ประยุกต์ แต่เป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่ง อาจสรุปความสัมพันธ์ของศาสตร์ทั้งสอง ได้ดังนี้
               1. เทคโนโลยีเกิดจากการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่
               2. การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในเทคโนโลยีนั้น มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี
          วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เราให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมาก และต้องใช้วิชาเทคโนโลยีเพื่อเสริมการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ ทั้ง 2 วิชามีความสัมพันธ์กันและเป็นการนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั่นเอง
          วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด จึงมักถูกเรียกควบคู่กัน แต่วิธีการใช้ทั้งสองวิชาเพื่อให้ได้คำตอบนั้นไม่เหมือนกันทีเดียว และจุดประสงค์หรือเป้าหมายต่างกัน

ที่มา : https://sites.google.com/site/thamondesign5/home/thekhnoloyi-khux-xxa-ri/khwam-samphanth-thekhnoloyi-kab-withyasastr

ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี

   ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน 

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/349-00/

ความหมายของเทคโนโลยี

   เทคโนโลยี  หมายถึง  การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น 

ที่มา: http://www.thaigoodview.com/node/149384