สอน after effect เบื้องต้น – การทำ Masking ตอนที่ 1
รายละเอียดของวีดีโอ
- การทำ Mask ด้วยเครื่องมือ Shape Tool ทั้ง 5 แบบ
- การปรับแต่งคุณสมบัติของ Mask
- การทำ Mask ด้วยเครื่องมือ Pen Tool
- การใช้คำสั่ง Rotobezier Masks
- การทำ Animation ให้กับ Mask
- กำหนดตำแหน่งเริ่มต้นของ Mask ด้วย First vertex point
- จัดการ Mask หลายๆอันด้วย Mask mode
- การทำ Mask อัตโนมัติด้วย Auto-trace
- Import path จาก Illustrator มาใช้ใน After Effect
- คำนวณ Keyframe แบบอัตโนมัติด้วย Mask Interpolation
1. เลือก layer ที่ต้องการทำmask
2. เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการทำ maskซึ่งมี 2 แบบ คือ เครื่องมือที่เป็นรูปทรงสำเร็จรูป (Shpae Tool) มี 5 แบบ และเครื่องมือที่เป็นปากกา (Pen Tool) ที่ใช้ในการวาดmask
3. ในที่นี้ลองเลือกแบบ rounded rectangle ทำการ mask โดยการลากเม้าส์ลงไปที่ composition panel (อย่าลืมว่าต้องเลือก layer ที่จะmark ก่อน) แล้วกดm เพื่อดู property ของ mask
4. ถ้าเราต้องการลบ mask ให้คลิกไปที่Mask 1 แล้วกด delete
การ Mask ในLayer Panel
มีวิธีการเช่นเดียวกับการทำใน Composition panel เพียงแต่เราย้ายมาทำใน Layer Panel
1. ให้เราดับเบิ้ลคลิกที่layer เพื่อเข้ามาสู่ Layer Panel
2. ให้สังเกตุที่ด้านล่างขวามือ ตรง View ให้เลือกเป็น Masks และติ๊กถูกตรงช่อง Render
3. เลือกเครื่องมือในการทำ mask
คำสั่ง Mask เบื้องต้น
1. Layer – Mask – New Mask จะทำการสร้างmask ขึ้นมาให้มีขนาดเท่ากับ original lay
2. Layer – Mask – Reset Maskเป็นการยกเลิก mask ที่เลือกเอาไว้อยู่ครับ
3. ถ้าเราเลือก mask อยู่แล้วเราไปดับเบิ้ลคลิกที่shape tool อันอื่น เช่น star มันจะเป็นการทำ mark แบบ star ไปแทนที่ของเดิม
4. ขณะที่ทำการ mask โดยใช้shape tool ขณะลากลงมาถ้าเรากด shift ค้าง จะเป็นการบังคับสี่เหลี่ยมให้เป็นจัตุรัส วงรีให้เป็นวงกลม และบังคับให้ starและ polygon ไม่หมุนขณะทำการ mask
5. ในขณะที่เราทำการลาก mask ถ้าเรากดปุ่มลูกศรขึ้นหรือลงจะมีผลดังต่อไปนี้
- Rounded rectangle จะเป็นการเพิ่มหรือลดความโค้งมนของขอบ
- Polygon, Star จะเป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนเหลี่ยมของรูปทรง
การแก้ไข Mask ด้วยFree Transform Tool
เราจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าFree Transform Tool โดยให้เราเลือกไปที่ mask แล้วกดCtrl + t หรือดับเบิ้ลคลิก จะขึ้นเป็นกรอบบริเวณตำแหน่งที่เรา mask
1. เราสามารถลาก mask ไปยังตำแหน่งไหนก็ได้ โดยให้ mouse cursor เป็นรูปลูกศรสีดำ
2. เราสามารถหมุนmask ได้ โดยเอา mouse cursor ไปวางไว้ในตำแหน่งบริเวณมุมขอบสี่เหลี่ยม ให้เป็นสัญลักษณ์ลูกศรโค้งสองหัว และเราก็สามารถย้ยาจุด anchor point ได้เช่นกัน (แต่เมื่อเลิกใช้ free transform tool แล้วจุด anchor point จะกลับมาที่ตรงกลางเหมือนเดิม)
Mask Feather
เป็นการทำขอบ mask ให้เบลอ เพื่อทำให้ภาพกลมกลืนกับ backgroundให้เราไปปรับที่ mask property โดยการกดshortcut m สองครั้งติดต่อกัน
Mask Expansion
เป็นการเพิ่มขนาดของ mask ให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง เราสามารถปรับได้ที่ mask property เหมือนเดิมครับ
Mask Opacity
เป็นการปรับความโปร่งแสงของภาพ มีหลักการเดียวกันกับ property ของ layer ทั่วไป
Pen Tool
ใช้ในการวาด Bezier Mask บนรูปภาพที่เราต้องการ ประกอบไปด้วยจุดต่างๆ เส้นตรง และเส้นโค้ง เราสามารถดัดแปลง แก้ไข จุดต่างๆและเส้นโค้งได้อย่างอิสระ เราต้องฝึกหัดในการใช้เครื่องมือนี้จึงจะเกิดทักษะความชำนาญในการลากเส้น ปรับแต่งส่วนโค้งที่เราต้องการ
เราไม่จำเป็นต้องทำการmask ให้เป็นรูปแบบปิด เราอาจจะกำหนดจุด mask 3 จุด แล้วใช้คำสั่งคลิกขวาเลือก Mask and Shape Path – Closed
Rotobezier Masks
เป็นคำสั่ง mask ชนิดหนึ่งที่ใช้ Pen Tool ในการวาดเหมือนเดิม แต่โปรแกรมจะมีการคำนวณความโค้งตรงตำแหน่งจุดต่างๆให้ เหมาะสำหรับวัตถุที่มีโค้งตามส่วนต่างๆ
มีข้อแนะนำอยู่จุดหนึ่ง คือ เมื่อเราเจอมุมที่เป็นแบบ hard corner ให้เรากด Ctrl + Alt ค้าง ให้ mouse cursor เป็นตามภาพครับ แล้วจัดการลากทำมุมที่ต้องการครับ
เมื่อเราทำเสร็จแล้ว เราอาจจะเปลี่ยนจาก Rotobezier เป็นแบบ Bezier ธรรมดา เพื่อความสะดวกในการจัดการรูปได้ โดยเลือก mask แล้วคลิกขวา Mask and Shape Path – Rotobezier เอาเครื่องหมายถูกออกครับ เสร็จแล้วเราจะเห็นตามจุด mask ต่างๆจะมีแขนขึ้นมาเหมือน Bezierครับ
Animating a Mask
เราสามารถทำอนิเมชั่นให้กับmask ได้ครับ โดยการกำหนด keyframeไปที่ mask path ให้เราใช้เครื่องมือ selection tool ทำกับปรับ mask path ในช่วงเวลาต่างๆ ประโยชน์ที่ได้จากการทำ เช่น เราอาจจะ mask ส่วนที่เราต้องการเอาไว้ ส่วนที่เหลือทำให้เป็นภาพเบลอทั้งหมด เพื่อเน้นไปที่จุดสนใจของเรา จากตัวอย่างเราทำการ mask เฉพาะมือ ส่วนที่เหลือที่เป็น background จะทำให้เป็นภาพเบลอ
เรามาดูอีกตัวอย่างครับ เป็นการทำอนิเมชั่นให้กับ mask แบบ slidingครับ วิธีการก็คล้ายๆกันครับ มีการกำหนดkeyframe ตำแหน่งเริ่มต้นกับตำแหน่งสุดท้าย โดยให้มีการเปลี่ยนmask path
การหมุนที่mask path จะเป็นการหมุนเฉพาะmask ไม่ได้เป็นการหมุน footageจะทำให้ขนาดที่แสดงใน layer เปลี่ยนไป
ในตำแหน่งจุดmark ต่างๆ จะมีอยู่จุดหนึ่งที่เรียกว่า First Vertex Point เสมือนเป็นจุดควบคุมการทำงานของจุดอื่นๆ ถ้าเราทำการอนิเมชั่นโดยมีการเปลี่ยนแปลงรูป mask path ให้เราคำนึงถึงจุดนี้ด้วย เพราะ mak path เหมือนกัน แต่จุดนี้ต่างกัน เวลาทำอนิเมชั่น จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแตกต่างกัน
เราสามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งนี้ได้ โดยคลิกขวาที่จุด mask ที่ต้องการแล้วเลือกMask and Shape Path – Set First Vertex
Inverting a Mask
สอน after effect ต่อไปเป็นการทำ mask โดยได้ผลตรงกันข้ามกับปกติ คือ ส่วนที่เรา mask จะกลายเป็น transparentไป ซึ่งมีวิธีการทำเหมือนเดิมเพียงแต่เราไปที่ช่อง mask property แล้วทำการติ๊กถูกที่ช่อง Invertedเพียงเท่านี้
Mask Mode
ใช้ในกรณีที่เราทำ mask ไว้หลายๆอัน แต่ละ mask เมื่อมาซ้อนทับกัน เราจะมีโหมดให้เลือกว่า เมื่อซ้อนทับกันแล้วจะให้แสดงผลอย่างไร ในที่นี้เราตั้งค่า mask 1ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม ให้มีโหมดเป็น Add ตลอดเวลา เราจะทำการเปลี่ยนโหมดเฉพาะmask 2 ลองไปดูผลลัพธ์กันครับ
ปัญหาที่เกิดจากการปรับ opacity ในmask
ถ้าเราทำการปรับ opacityใน mask และเรามีอยู่หลาย mask ถ้า mask เหล่านั้นมีการซ้อนทับกันอยู่ จะทำให้ opacityที่เราทำแต่ละ mask มีการเปลี่ยนไปในตำแหน่งที่ mask ซ้อนทับกันอยู่
ข้อแนะนำก็คือ เราควรจะปรับค่า opacity ใน propertyหลักของ layer แทน
Cr.Masking 1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น