วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หลักการทำงานของ Layers

สอน after effect เบื้องต้น – เรียนรู้หลักการทำงานของ Layers


สอนพื้นฐานการทำไตเติ้ลวีดีโอด้วย Adobe After Effect CS6



บทที่ 6 เนื้อหาที่สอนในวีดีโอ คือ
- การเลือก, เคลื่อนย้าย, เปลี่ยนชื่อ และ copy Layer
- เลือกแสดงเฉพาะ Layer ที่ต้องการด้วย Solo Layer
- การใช้คำสั่ง Composition and Layer Marker
- การ Preview เฉพาะ Layer โดยไม่ Render ด้วย Guide Layer
- การทำ Snapshot เพื่อเปรียบเทียบภาพ
- การจัดเรียงวัตถุด้วย Align & Distribute
- เรียนรู้คำสั่ง Adjustment Layer

Selecting layers
เรามีวิธีการเลือก Layers หลากหลายรูปแบบ ลองทำตามดูครับ
Shift + Click                     การเลือก Layers เป็นกลุ่ม
Ctrl + Click                      การเลือก Layer พร้อมๆกันหลายอัน
Ctrl + A                       การเลือกLayer ทั้งหมด
Ctrl + Shift + A                ยกเลิกการเลือกทั้งหมด
Ctrl + ลูกศรขึ้น ลง           เลือก Layer ด้วยคีย์บอร์ด
ปุ่มตัวเลขบนคีย์บอร์ด            เลือก Layer ด้วยคีย์บอร์ด

Moving Layers in Time
การลาก Layer มายังตำแหน่งที่เราต้องการ(Time Indicator) เรามี shortcut ต่าๆงดังนี้
Shift ค้างขณะลาก เป็นการให้ Layer เหมือนมีแม่เหล็กมาดูดติดกับตำแหน่ง cursor
[                                   ย้ายตำแหน่งเริ่มต้นมาไว้ที่cursor
]                                   ย้ายตำแหน่งสุดท้ายมาไว้ที่cursor
Alt + Home                  ย้ายตำแหน่งLayer ไปไว้ที่เริ่มต้น
Alt + End                     ย้ายตำแหน่งLayer ไปไว้ที่สุดท้าย
Alt + Page down          ย้ายตำแหน่งLayer ไปข้างหน้า 1 เฟรม
Alt + Page up                    ย้ายตำแหน่งLayer ถอยหลัง 1 เฟรม
Duplicating Layers and Composition
1. เราต้องการ copy layer ที่มีการปรับแต่งค่าต่างๆแล้ว และเราต้องการค่าต่างๆเหล่านั้นมาด้วย ให้คลิกที่ layer นั้นแล้วกดCtrl + D
2. ถ้าต้องการ copy layer ในcomposition นึงเอาไปใส่อีก composition นึง ให้เราเลือก layer ที่ต้องการ แล้วกด Ctrl + C จากนั้นไปเลือกcomposition ที่ต้องการแล้วกด Ctrl + V
3. การ copy composition ใช้วิธีเดียวกับcopy layerให้กดปุ่ม Ctrl + D
4. การก็อปปี้เลเยอร์โดยการแบ่งส่วนท่ตำแหน่งcursor กด Ctrl + Shift + d
Soloing Layer
มันคือการแสดงผลเฉพาะ layer ที่เรากำหนดไว้ บางกรณีที่มี layer อยู่เป็นจำนวนมาก เราอาจจะสับสนในการดู layer ที่เราต้องการ เราก็ใช้วิธีนี้ โดยอาจจะเลือก solo มากกว่า 1 layer
Renaming Layer
วิธีง่ายๆในการแก้ไขชื่อของโฟลเดอร์, composition หรือชื่อไฟล์ต่างๆ ให้เราทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Enterจะมีช่องขึ้นมาให้เราใส่ชื่อลงไป
Replace Source
ในบางกรณีที่เราต้องการที่จะเปลี่ยนรูปภาพที่ใช้งานอยู่ในlayer ถ้าเราทำการลากรูปภาพนั้นเข้ามา เราก็จะต้องทำการใส่ค่าproperty ต่างๆลงไปใหม่ทั้งหมด เรามีวิธีง่ายๆที่จะเอารูปใหม่มาแทนที่รูปเก่า โดยที่ property ต่างๆทั้งหลายของรูปเก่า ก็จะยังคงอยู่กับรูปใหม่ ให้เรากด Alt ค้างขณะทำการลากรูป ให้ลากมาวางทับรูปเก่า เสร็จแล้วปล่อยเม้าส์ตามด้วยปล่อย Alt
Replace Footage
จะคล้ายกับกรณีการทำ Replace Source แต่บางทีเรามี composition อยู่เป็นจำนวนมาก จะให้เรามานั่ง replace ทีละรูปมันค่อนข้างจะเสียเวลาครับ ในกรณีนี้ให้เรา replace ทั้ง footage ไปเลยครับ มีวิธีทำดังนี้ครับ
1. เลือก footageที่ต้องการจะ replace
2. คลิกขวาที่ไฟล์นั้น Replace Footage – File หรือเราจะกด shortcut Ctrl + H
Marker
สอน after effect บทนี้จะพูดถึงเรื่อง Markerครับ มันมีประโยชน์ คือ เป็นเครื่องช่วยเตือนความจำของเราครับ ว่าที่ layerนี้ ตำแหน่งนี้ มีอะไรที่สำคัญบ้าง โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Composition Marker และ Layer Marker เรามาดูทีละตัวกันครับ
1. Composition Markerวิธีใช้ให้เราสังเกตุที่บริเวณปลาย Timeline จะมีไอคอนคล้ายๆหัวลูกศร ให้เราคลิกแล้วลากมาวางยังตำแหน่งที่ต้องการทางด้านซ้ายมือได้เลยครับ
2. เราสามารถแก้ไขข้อความได้ โดยการคลิกขวาที่ไอคอนแล้วเลือก Settings
3. Layer Marker ให้เราเลือกตำแหน่งบนเลเยอร์ที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม * บนคีย์บอร์ดฝั่งตัวเลข จะเห็นไอคอนที่เป็นรูปลูกศรแนวตั้งเกิดขึ้นมา วิธีการแก้ไขข้อความใช้หลักการเดียวกันกับข้อ 2
Taking Snapshots
เราสามารถทำการ snapshot ในafter effect ได้ เพื่อทำการเปรียบเทียบดูว่า ภาพก่อนที่จะทำการแก้ไขกับภาพหลังจากที่ได้ทำการแก้ไข มีความแตกต่างกันอย่างไร มีขั้นตอนการทำ ดังนี้
1. เลือกตำแหน่งที่ต้องการ แล้วกดไปที่รูปกล้องถ่ายรูปใต้ composition panel หรืออาจจะกด shortcut Shift + F5 เราจะได้ยินเสียงชัตเตอร์
2. หลังจากแก้ไข layer เสร็จแล้ว ให้เรามากดที่ไอคอนรูปคนด้านล่าง เพื่อเปรียบเทียบกับภาพของเดิม
Align & Distribute
ในกรณีที่แต่ละ layers ของเรา มีวัตถุต่างๆวางอยู่ในแต่ละ layer ถ้าเราต้องการจะจัดเรียงวัตถุเหล่านั้น เราสามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง Align หรือ Distribute เรามาดูวิธีทำกันดีกว่าครับ
1. เลือก layer ที่ต้องการทำ align โดยต้องมีอย่างน้อย 2 layers
2. ถ้า Align ไม่ขึ้นแสดง ให้เราเลือก Window – Align
3. ให้เราลองเลือกรูปแบบการจัดวางจากAlign panel ได้เลยครับ ส่วน Distribute ก็มีหลักการเหมือนกันครับ เพียงแต่เราต้องเลือกอย่างน้อย 3 layers ครับ
Guide Layer
เลเยอร์บางอันเราต้องการที่จะเอาไว้ดูเปรียบเทียบเฉยๆ ไม่ต้องการให้มันแสดงหลังจาก render เรามีวิธีการง่ายๆ คือ ให้เราเปลี่ยนเลเยอร์นั้นเป็น Guide layer
1. คลิกขวาที่เลเยอร์ที่ต้องการทำ แล้วเลือก Guide layer
2. เลเยอร์นั้นจะมีไอคอนสีฟ้าอยู่บริเวณชื่อเลเยอร์
การเชื่อมต่อไฟล์ระหว่าง After Effect กับโปรแกรมภายนอก
ไฟล์บางประเภท เช่น Photoshop เมื่อเรานำเข้ามาใช้งานในโปรแกรมafter effect บางทีเราอยากจะแก้ไขไฟล์ของเราเพิ่มเติม และอยากให้ after effect ทำการ update ส่วนที่เราแก้ไขเพิ่มเติมให้ด้วย เราสามารถทำได้ครับ ลองทำตามผมดูครับ
1. เลือกไฟล์ที่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติม
2. ใน Windows XP ผมได้ตั้งค่าdefault ไว้ว่าไฟล์ .TIFF ให้เปิดด้วย Photoshop
3. เลือก Edit – Edit Original จะเป็นการเลือกเปิดไฟล์นี้ด้วยPhotoshop
4. ทำการแก้ไขไฟล์ใน Photoshop แล้วกดsave
5. ผลที่ได้เมื่อเปิดโปรแกรม after effect นาฬิกาจะเปลี่ยนจากสีฟ้ากลายเป็นสีส้ม
Color Coding
ในแต่ละ layer จะมีแถบสีแสดงให้เห็นความแตกต่างของแต่ละอันครับ เราสามารถเลือกแถบสีที่ต้องการได้ครับ โดยคลิกเลือกตามรูปครับ
Adjustment Layer 
เป็นเลเยอร์ชนิดหนึ่งที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อกำหนดว่าเลเยอร์อะไรก็ตามที่อยู่ใต้เลเยอร์นี้ จะถูกเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆตามเลเยอร์นี้ เราลองไปศึกษากันดูครับ
1. ลองสร้าง compositionขึ้นมา จากตัวอย่างเป็น footageเทียนกับหยดน้ำ
2. เพิ่ม Adjustment Layer ลงไป โดยใช้คำสั่ง Layer – New – Adjustment Layer เราจะเห็นว่าตอนนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
3. คราวนี้เราลองใส่ effect ให้กับAdjustment Layer ดู ผมลองใส่ Hue ลงไปแล้วลองปรับสีดู จะเห็นว่าfootageเทียนไขที่อยู่เลเยอร์ด้านล่าง จะมีสีที่เปลี่ยนไปตาม

Cr.Layers

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น